วัดพระศรีอารย์ เป็นวัดที่มีความสวยงามโดดเด่นด้วยพระอุโบสถทองคำร้อยล้าน เป็นพระอุโบสถตกแต่งด้วยงานปูนปั้นสีทองทั้งหลัง เด่นตระหง่านอยู่กลางลานกว้างแยกออกจากพื้นที่เขตสังฆาวาสอย่างชัดเจน ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปคู่วัดคือพระศรีอาริยเมตไตรยโพธิสัตว์ (ผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในลำดับถัดไป) พุทธลักษณะเด่นคือมีตาลปัตรอยู่ด้านหน้า ส่วนองค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปสลักหินหยกขาวพุทธศิลป์แบบพม่า ซึ่งชาวไทยจะได้เห็นพระพุทธรูปในลักษณะนี้อยู่หลายวัด หลวงพ่ออุตตมะ แห่งวัดวังก์วิเวการาม จังหวัดกาญจนบุรี เมตตาอธิษฐานจิต ณ อุโบสถวัดพระศรีอารย์ เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2536
อุโบสถทองคำร้อยล้านเป็นอุโบสถที่สร้างขึ้นมาใหม่ แต่อุโบสถหลังเก่าทางวัดก็ยังคงรักษาไว้ให้ชมกัน ลานประทักษินรอบพระอุโบสถเสมอกับพื้นไม่มีกำแพงแก้ว ช่องประตูด้านหน้า 1 ช่อง ส่วนด้านหลังมีบันไดเดินเข้าภายในอุโบสถได้ 2 ทาง อุโบสถหลังนี้ใช้เวลาสร้าง 37 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 ภายในติดกระจก ลงรักปิดทอง ส่วนบานประตู หน้าต่างแกะสลักภาพพุทธประวัติ จิตรกรรมฝาผนังเรื่องพระมหาชนก พระเจ้า 5 พระองค์
ความเชื่อเกี่ยวกับอุโบสถทองคำร้อยล้าน ยังมีประชาชนจำนวนมากที่ได้ไปนมัสการพระศรีอาริย์ในอุโบสถต่างเชื่อกันว่าหากแตะบานประตูไม้แกะสลักบานใหญ่ของอุโบสถแล้วอธิษฐานจะประสบความสำเร็จดังปรารถนา
>>>ประวัติวัดพระศรีอารย์
วัดพระศรีอารย์ ตั้งอยู่เลขที่ 139 ซอยสุขาภิบาล 8 หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านเลือก อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี มีเนื้อที่โดยประมาณ 40 ไร่ รอบๆบริเวณวัดโดยทั่วไปเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ใหญ่อยู่มากมาย มีบรรยากาศร่มรื่นเหมาะแก่การใช้เป็นแหล่งปฏิบัติธรรม แต่เดิมสร้างสมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อปี 2275 มีอายุประมาณ 280 ปี เดิมชื่อวัดสระอาน ไม่มีพระภิกษุมาอยู่จำพรรษา อุโบสถเดิมก่ออิฐถือปูนขนาด กว้าง 4 เมตร ยาว 9 เมตร เป็นอุโบสถมหาอุดเข้าออกได้ทางเดียว มีสระน้ำโบราณอยู่คู่กับ อุโบสถด้านทิศเหนือ มีน้ำขังตลอดทั้งปี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสระน้ำเก่าที่ศักดิ์สิทธิ์ ขณะที่ขุดค้นพบนั้นมีสภาพเก่าชำรุดทรุดโทรมมาก ภายในอุโบสถมีพระประธานที่เก่าแก่ เป็นอิฐเผาถือปูน บริเวณรอบๆ อุโบสถเป็นป่ามีต้นไม้น้อยใหญ่ขึ้นปกคลุมอยู่ จนถึงประมาณปี 2475 เริ่มมีพระภิกษุเข้ามาพักจำพรรษาเรื่อยมาในปี 2500 ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดสระอาน มาเป็น วัดพระศรีอารย์
อุโบสถทองคำร้อยล้าน ใช้เวลาก่อสร้างนานถึง 37 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 โดย พระครูสิริพัฒนกิจ (หลวงพ่อขันธ์ กนฺตธโร) อดีตเจ้าวัดพระศรีอารย์ เป็นผู้ริเริ่ม และได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2510 การก่อสร้าง อุโบสถครั้งนี้ เพื่อใช้เป็น สถานที่ประกอบพิธีกรรมของภิกษุสงฆ์ อีกทั้ง ยังเป็น กาาแสดงถึงมรดกของไทย ด้านศิลปกรรม และจิตรกรรม อุโบสถทำจากคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 18 เมตร ยาว 40 เมตร ประดับด้วยลวดลายรูปปั้น เป็นฝีมือช่างพื้นบ้าน อุโบสถหลังใหม่นี้ไม่มีแบบสำเร็จรูป เป็นการสร้างตามแบบที่หลวงพ่อขันธ์ ต้องการ และที่ สำคัญไม่มีการตอกเสาเข็ม เพราะ ในสมัยนั้น การก่อสร้างในต่างจังหวัด ยังไม่มีการ ตอกเสาเข็ม เพียงแต่นำหินมาถมและเทคานรองรับเพื่อสร้างตัวอุโบสถได้เลย ช่างผู้รับงานก่อสร้างเป็นคนบ้านพระศรีอารย์ ส่วนแรงงานเป็นการลงแรงของคนในชุมชน และใกล้เคียง การก่อสร้าง ส่วนมากทำในเวลาที่ว่างจากงานประจำของชาวบ้าน กระทั่งในปี 2517 เกิดน้ำท่วมใหญ่ ทำให้ชาวบ้านหวั่นวิตกว่า อุโบสถที่อยู่ระหว่าง ก่อสร้างจะพังลงมา เพราะไม่มีเสาเข็ม แต่หลัง จากน้ำลดลงแล้ว ไม่ปรากฏความเสียหายใดๆ
การก่อสร้างต้องหยุดชะงักลงระยะหนึ่ง เมื่อหลวงพ่อขันธ์มรณภาพ พระครูวิทิตพัฒนโสภณ (สง่า ฐานิสฺสโร) เจ้าอาวาสวัดพระศรีอารย์ รูปปัจจุบันได้เป็นผู้สานต่องานทั้งหมด ต่อมา นายประเสริฐ อรชร ได้เข้ามารับช่วงการก่อสร้างต่อ จึงได้ดำเนินการเทคานรอบตัวอาคาร อีกครั้ง เพื่อความมั่นคง การ ก่อสร้างในสมัยที่นายประเสริฐเข้ามารับงานนี้ เป็นการตกแต่งเพื่อความสมบูรณ์มากกว่า เพราะโครงสร้างของอาคาร ได้เสร็จก่อนหน้านี้แล้ว ดังนั้น งานใหญ่ที่สำคัญคือ การติดลายปูนปั้นต่าง ทั้งภายในและรอบนอกอุโบสถ
ส่วนพระประธาน ในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะพม่า สร้างด้วยหยกขาวทั้งองค์ โดยมี หลวงพ่ออุตตมะ (พระราชสังวรอุดม) วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี เป็นประธานในการอัญเชิญ มาประดิษฐานไว้ ณ อุโบสถร้อยล้านหลังนี้ เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2536 นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปคู่วัด คือ พระศรีอารย์ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่พิมพ์พระศรีอารย์ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ มีตาลปัตรอยู่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป จีวรจับกลีบคล้ายพระพุทธลักษณะสมัยคันธาระ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ทุกคนเคารพกราบไหว้
บทความเพิ่มเติม ufabet