ลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีของชาวนาไทย สืบสานวัฒนธรรม

วัฒนธรรม ประเพณี

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

“เกี่ยว เถิดนะแม่เกี่ยว

ช้ะ ช้ะ เกี่ยว เถิดนะแม่เกี่ยว

อย่ามัว แลเหลียว

เดี๋ยวเคียวจะบาด ก้อยเอย

..เกี่ยว เถิดนะแม่เกี่ยว

ช้ะ ช้ะ เกี่ยว เถิดนะแม่เกี่ยว

อย่ามัว แลเหลียว

เดี๋ยวเคียวจะบาด ก้อยเอย”

ประเพณีลงแขก เกี่ยวข้าว เป็นประเพณี ที่เจ้าของนา จะบอกเพื่อนบ้าน ให้รู้ว่าจะ เกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนา ก็จะต้องปักธง ที่ที่นาของตน เพื่อให้ เพื่อนบ้าน หรือแขก ที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยว ได้ถูกต้อง ทั้งนี้เจ้าของนา จะต้องจัดเตรียมอาหาร คาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะ เกี่ยวข้าว ก็จะมี การละเล่น ร้องเพลง เกี่ยวข้าวระหว่างหนุ่มสาว เป็นที่สนุกสนาน และเพลิดเพลิน เพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยได้

ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นประเพณีไทย อีกอย่างหนึ่งของชาวนาไทย ซึ่งนับวันจะหาดูได้ยาก ในสภาพปัจจุบัน ชาวอีสานส่วนใหญ่ จะเป็นผู้มีน้ำใจไมตรี

ดังนั้น ในการทำกิจการ งานใดๆ ไม่ว่า งานเล็ก งานใหญ่ จะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี เพราะทุกคน ต่างมีน้ำใจให้กันและกัน ช่วยงานกัน คนละมือละไม้ ใช้เวลาไม่นาน งานก็สำเร็จลุล่วงไปได้สมปรารถนา การทำงานแบบนี้ คนอีสานเรียกว่า “ลงแขก” การลงแขก ในภาคอีสาน ก็คือ การบอกกล่าว ขอแรงบรรดาญาติสนิท มิตรสหาย ให้มาช่วยทำงานนั่นเอง งานที่จะลงแขกกันนั้น อาจจะเป็นงานส่วนรวม หรืองานส่วนตัวก็ได้ สำหรับงานส่วนตัวนั้น ส่วนมากมักจะเป็นงานใหญ่ สุดกำลังคนในครอบครัวจะทำได้ หรืออาจจะเป็นงานหนัก แต่จำเป็นต้องทำให้เสร็จ ภายในวันเดียว จึงต้องบอกกล่าว ให้ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน มาช่วยเหลือ เพื่อให้งานเสร็จสิ้นไป งานที่มักลงแขก เช่น การลงแขกทำนา ซึ่งมี การลงแขกดำนา ลงแขกเกี่ยวข้าว ลงแขกตีข้าว (นวดข้าว) เป็นต้น

นอกจากจะมี ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว แล้ว ยังมีประเพณีลงแขกทำนา ด้วยการทำนา เป็นงานหนัก และในรอบปีหนึ่งต้องใช้ แรงงานมากถึง 4 วาระด้วยกัน คือ ช่วงการดำนา การเกี่ยว การตี และเอาข้าวขึ้นเล้า ดังนั้นการทำงาน ทุกๆ ระยะ ชาวนาส่วนมากจะใช้วิธีการลงแขก อาศัยแรงจาก ญาติพี่น้อง เพื่อนบ้าน มาช่วยกัน เมื่อลงแขกในนาตนเสร็จ ก็เปลี่ยนไปลงแขกนา ของคนอื่นๆ ต่อไปเป็นการตอบแทน ซึ่งเป็น การแสดงน้ำใจที่มีให้กันและกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันลูกหลานคนหนุ่มสาวไปทำงานต่างถิ่น ปล่อยให้พ่อแม่และคนแก่อยู่บ้าน การลงแขกจึงยังมีความจำเป็นสำหรับชาวนา

การลงแขกในฐานะนวัตกรรมเพื่อสร้างความเป็นส่วนรวม

การใช้แรงงาน เป็นเครื่องมือ เพื่อจัดความสัมพันธ์ ของปัจเจกกับความเป็นส่วนรวม ที่ใหญ่กว่า ความเป็นปัจเจกนั้น ในรูปแบบอื่นก็มีเหมือนกัน เช่น ในชุมชนหนองบัวนั้น มีวัฒนธรรมการเป็นคู่ดองซึ่งทำให้ปัจเจกสามารถไปทำงานและอุทิศตนเพื่อผู้อื่นที่ไม่ใช่กิจการตนเองและญาติพี่น้อง ซึ่งก็อาจจะมีกิจกรรมที่สืบเนื่องตามมาที่เป็นการลงแขกช่วยเหลือกันได้ด้วยเช่นกัน ทว่า จุดศูนย์กลางของการเอาแรงกับแบบนี้อยู่ที่ความเป็นคู่ดอง นอกเหนือรูปแบบนี้แล้วก็มักเรียกกันว่าการลงแขก การเอาแรง หรือในชุมชนบางแห่งเรียกว่าการเอาแขกแรง แทงบอลออนไลน์ ที่นี่

ดังนั้น การลงแขก จึงเป็นสิ่งที่ ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อสร้างความเป็นส่วนรวม ทำให้ปัจเจก และชุมชน สามารถจัดการความเป็นส่วนรวมมิติต่างๆด้วยกันได้ ทั้งสภาพแวดล้อม การผลิต การสร้างสังคม ตลอดจนเป็นแหล่งประสบการณ์ ให้การเรียนรู้และสร้างสมภูมิปัญญาไปด้วย

Share
Tagged