ลาบไก่บ้าน
ภาคอีสาน มีสภาพพื้นดิน โดยทั่วไป ค่อนข้างแห้งแล้ง และในอดีตเป็นภาค ที่มีความชุก ของปัญหา โภชนาการ ค่อนข้างสูง
อาหารพื้นเมือง ของชาวอีสานนั้น อาหารหลักคือ ข้าวเหนียวเช่นเดียวกับ ภาคเหนือ อาหารหลักมี 3 มื้อ อาหารเช้า เรียกข้าวเช้า อาหารกลางวัน เรียก ข้าวเพล และอาหารเย็น เรียกข้าวแลง
อาหาร ของภาคอีสาน ส่วนใหญ่ จะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยม รสเปรี้ยวมาก ซึ่งอาหารอีสานประเภทลาบ ส้มตำ ที่เป็นขนานแท้ จะออกรสเผ็ด และเค็ม รสเปรี้ยว ทางอีสาน ใช้มะนาว มะกอก ส้มมะขาม มดแดง รสเค็ม ใช้ปลาร้า ชาวอีสานไม่นิยม เครื่องเทศ แต่ใช้พืชประเภทแต่งกลิ่น เช่น ผักชีลาว ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักไผ่ ใส่ลงไปในอาหารแทน

วัตถุดิบและเครื่องปรุง
- เนื้อไก่บ้านสับสุก 1 ถ้วย
- หอมแดงซอย 2 ช้อนโต๊ะ
- ต้นหอมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกขี้หนูหั่น 1 ชั้นโต๊ะ
- น้ำมะนาว 2 ช้อนโต๊ะ
- พริกป่น 1 ช้อนโต๊ะ
- สะระแหน่เด็ดใบ ½ ถ้วย
- หอมเปหั่น 1 ช้อนโต๊ะ
- ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ ½ ช้อนชา
- ใบมะกรูดซอย 1 ช้อนโต๊ะ

ขั้นตอนการทำ
- นำไก่สับ หอมแดง พริกสด พริกป่น ข้าวคั่ว น้ำมะนาว เกลือ และน้ำปลา มาคลุกผสมให้เข้ากัน
- ใส่ต้นหอมหั่น สะระแหน่ หอมเป(ผักชีฝรั่ง) ใบมะกรูด เสร็จแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
- ชิมรสชาติ แล้วตักใส่จานได้เลย
สะระแหน่
เป็นไม้เลื้อย คลุมดิน ลักษณะเป็น ใบกลมป้อม เท่าหัวแม่มือ คนมักนิยม เด็ดใบมาปรุง ในอาหารยำ ลาบ พล่า ต้มยำ มีฤทธิ์เย็น รสเผ็ดซ่า กลิ่นเมนทอลในใบ ช่วยให้สดชื่นและผ่อนคลาย ช่วยลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ถอนพิษไข้ และช่วยขับเหงื่อ
ประโยชน์และสรรพคุณทางยาของสะระแหน่
เรามักจะนำ ใบสะระแหน่ มาบด แล้วทาลงบนผิวหนัง จะทำให้ผิวหนังชุ่มชื่น อีกทั้งยังช่วยไล่ยุง นอกจากนี้ยังใช้ทำยาผสมลงไป ในชาสมุนไพร หรือ คั้นน้ำมาผสม ลงในเครื่องดื่ม สะระแหน่ ยังสามารถนำไปทำเป็น ยาปฏิชีวนะ และยังใช้เป็นตัวขับไล่ อนุมูลอิสระ ออกจากร่างกาย อีกทั้งยังใช้เป็น ยาเย็น และใช้เป็น ยาคลายความเครียด และมีงานวิจัยอย่างหนึ่งระบุว่า มันช่วยคลายความกดดัน ของกล้ามเนื้อ อันมาจากความเหนื่อยล้า และความเครียด สะระแหน่ ยังใช้ไปทำน้ำมันหอมระเหย เพื่อใช้ในการทำ สุคนธบำบัด อีกทั้งยังใช้เป็นยารักษาโรคเกี่ยวกับ ต่อมไทรอยด์