อบไก่สมุนไพร
วันนี้เราจะมาทำอาหารพื้นบ้านของ ชาวเขา โดยใช้ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ในท้องถิ่น เข้ามาช่วยดูแลสุขภาพ ของชาวบ้าน การอยู่พอดี กินพอดี ตามหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียงของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 คือ การทำให้คนในชุมชน ได้อาศัยอยู่ท่ามกลาง วัฒนธรรม ประเพณี ที่งดงาม และมีสภาพที่เอื้อ ต่อการดำรงชีวิต มีความมั่นคงทางอาหาร คือ มีปริมาณอาหาร เพื่อการบริโภค ที่เพียงพอ มีความหลากหลาย และที่สำคัญ อาหารนั้นมีความสะอาดปลอดภัย มีคุณภาพ และมีคุณค่าทางโภชนาการ แก่ร่างกาย และที่สำคัญที่สุดคือ ชุมชนสามารถเข้าถึง แหล่งอาหารได้อย่างทั่วถึง ซึ่งเกิดจาก ระบบทรัพยากร ในแต่ละพื้นที่นั้น

เมนูอาหาร “อบไก่สมุนไพร” เป็นเมนูที่นิยมประกอบเป็นอาหารเพื่อการบริโภค ในครอบครัว และใช้บริโภค เวลาคนในครอบครัว เกิดอาการเจ็บป่วย ทั้งยังเป็นอาหารที่ใช้ต้อนรับ เวลามีแขกสำคัญ มาเยี่ยมเยียนคนในครอบครัวอีกด้วย คุณค่าของอาหารในเมนูนี้ นอกจากจะมีคุณค่าทางผู้โภชนาการแล้ว ยังมีคุณค่าเชิงวัฒนธรรมมีความเชื่อที่น่าค้นหามากกว่าการประเมินค่าได้
“อบไก่สมุนไพร” เป็นอาหารของชาวไทใหญ่ ถือว่าเป็นของดี อาหารดีที่ ใช้ต้อนรับแขก ที่มาพักที่บ้าน เพราะชาวไทใหญ่สมัยก่อน ถือว่าบ้านไหนที่มีแขกมาพักเยอะๆจะทำให้โชคดี มีสิริมงคล ค้าขายร่ำรวย แต่แท้จริงแล้วเป็นการแสดงความมีน้ำใจไมตรีของคนไทใหญ่ และได้เรียนรู้เล่ห์เหลี่ยมจากคนภายนอก ส่วนมากจะทำเลี้ยงในวันสำคัญของครอบครัว เลี้ยงต้อนรับบุคคลสำคัญ และวันสำคัญทางศาสนา
การเตรียมเครื่องปรุงและวัตถุดิบ
- เนื้อไก่สับเป็นชิ้น
- ตะไคร้ 4 หัว
- ข่า 1 หัว
- หอมแดง 4 หัว
- กระเทียม 4 หัว
- เกลือ 1 ช้อนชา
- ขมิ้น 1 หัว
- กะปิ ½ ช้อนโต๊ะ
- มะเขือเทศเล็ก 5 ลูก
- ใบมะกรูด 5 ใบ
- ผักชี 2 ต้น
- พริกแห้ง
ขั้นตอนการทำ
- นำเนื้อไก่ไปล้างให้สะอาดและสับเป็นชิ้นเล็กพอประมาณ
- โขลกส่วนผสมที่เตรียมไว้ให้เข้ากันอย่างละเอียด ได้แก่ ตะไคร้ ข่า หอมแดง กระเทียม กะปิ พริกแห้ง และหั่นมะเขือเทศใส่ลงไปด้วย
- นำเนื้อไก่ใส่ลงไปในหม้อ พร้อมส่วนผสมที่เตรียมไว้ ใส่น้ำมันนิดหน่อย แล้วคลุกให้เข้ากัน จากนั้นจึงนำไปตั้งไฟประมาณ 5-10 นาที ฉีกใบมะกรูดลงไปเพิ่มความหอมของอาหาร
- ใส่น้ำลงไปในหม้อ แล้วตั้งไว้จนน้ำแห้ง ทำแบบนี้สี่ครั้งจึงปิดไฟ ถือว่าเป็นอันเสร็จเรียบร้อย ตักใส่ถ้วยโรยหน้าด้วยผักชี การใส่น้ำและปล่อยให้แห้งถึงสี่รอบถือเป็นเคล็ดลับสำคัญว่า จะได้รสชาติอาหารที่อร่อยเลิศ
ข้อปฏิบัติและความเชื่ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- ถ้าใส่น้ำไม่ถึงสี่ครั้งจะได้รสชาติที่ไม่อร่อยถ้าหากได้เลี้ยงอาหารชนิดนี้จะเป็นอาหารที่ดูดีของชาวไทยใหญ่สมัยนั้น
- ถ้าใช้ไฟแรงเกินไปจะทำให้เนื้อไม่และมีรสขมและน้ำเห็นก่อนเวลาอันสมควรจุ๊ง
- กินกับข้าวเหนียวจะอร่อยและมากกว่าการกินกับข้าวเจ้า