การทำ ต้มขม หรือ ต้มแซบ ตามแบบฉบับของแต่ละท้องถิ่น

สูตรอาหารไทย

ต้มขม

ต้มขม เป็นอาหารของ ชาวเขา ซึ่งเป็นอาหารชาติพันธ์ุอย่างหนึ่ง อาหารชาติพันธุ์ มีองค์ประกอบที่ หลากหลาย เป็นอาหารที่ได้มาจาก ธรรมชาติ  และระบบ การเกษตร ในไร่นาของตนเองเป็นหลัก ซึ่งการที่ได้มาของ อาหาร ตามธรรมชาติ และการผลิต ในรูปแบบ การเกษตร ก็จะนำมาซึ่ง ภูมิปัญญา เป็นรูปแบบ การทำมาหากิน ที่สั่งสมถ่ายทอดกันมา จากรุ่นสู่รุ่น  และยังมีความสัมพันธ์ กับจารีตประเพณี แต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกันออกไป 

คุณค่าของ อาหารชาติพันธุ์ พื้นบ้าน สามารถแบ่งแยกออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ

  1. คุณค่าที่เกี่ยวข้องกับเรื่ององค์ความรู้ ภูมิปัญญา และจิตวิญญาณของแต่ละชาติพันธุ์
  1. คุณค่าที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดูแลสุขภาพ และการให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ทำให้ผู้บริโภคได้รับอาหารที่หลากหลาย และปลอดภัย

วัตุดิบและเครื่องปรุง

  1. พริกแห้ง  5 เม็ด
  2. เกลือ  1 ช้อนชา
  3. กระเทียม  1 หัว
  4. ขิง 1 ข้อมือ
  5. ตะไตร้  1 ต้น
  6. หมูสับหรือไก่สับ  1 ขีด
  7. ใบโถจีลาเผีย (ดีงูหว้า)

ขั้นตอนการทำ

  1. สับเนื้อหมูให้ละเอียด
  2. นำใบดีงูหว้าย่างไฟให้เกรียม และนำมาขยี้ให้ละเอียดพอประมาณ
  3. โขลกพริกแห้งและกระเทียมให้ละเอียด
  4. ทุบขิง และตะไคร้ เตรียมไว้
  5. ตั้งหม้อใส่น้ำมันนิดหน่อย เอากระเทียม   พริกแห้ง และเนื้อหมูลงคั่วพอหอม จากนั้น ใส่น้ำ ตามด้วยขิง ตะไคร้ รอน้ำเดือดจึงใส่ใบดีงูหว้าลงไป  สุกแล้วจึงยกลงพร้อมรับประทาน

คุณค่าทางโภชนาการ

พริกแห้ง   พริกเป็นอาหารสมุนไพรที่ใช้กับทุกครัวเรือน  พริกช่วยขับเสมหะ ช่วยให้ทางเดินหายใจโล่ง ช่วยสลายลิ่มเลือด บรรเทาอาการปวด เช่น ลดอาการปวดฟัน       ช่วยกระตุ้นสมองส่วนกลาง  ให้หลั่งสารเอนดอร์ฟิน ซึ่งเป็นสารสร้างความสุข  กระตุ้นให้อยากอาหาร  พริกช่วยป้องกันโรคมะเร็ง  นอกจากนี้ยังมีทั้งวิตามินเอ วิตามินซี และโปรตีน  และยังช่วยให้เกิดการสมานแผล ในกระเพาะอาหาร และลำไส้

ขิง   ลดอาการท้องอืด ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน ช่วยป้องกันมะเร็ง และขิงสามารถบรรเทาอาการขึ้นไส้ได้  ช่วยลดน้ำตาลในเลือด  โดยเฉพาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

กระเทียม    ประโยชน์ของกระเทียม ทางตรง คือ เป็นส่วนประกอบของอาหารคาวได้หลากหลายมากมาย ทั้งต้ม ผัด แกง ทอด ส่วนประโยชน์ทางอ้อม คือ สรรพคุณของกระเทียมในด้านยา และการป้องกันรักษาโรคนั่นเอง ซึ่งกระเทียมสามารถให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเรา ในหลายหลายด้านอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งคนโบราณ ยังใช้กระเทียมในการรักษาโรคผิวหนัง จำพวกกลาก เกลื้อน ประโยชน์ของกระเทียมเพิ่มเติม คือ ช่วยรักษาแผลที่เน่าเปื่อย และเป็นหนอง ป้องกันโรคเบาหวาน และช่วยขจัดพิษสารตะกั่ว

ตะไคร้    แก้หวัด ปวดศีรษะ ไอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้บำรุงธาตุไฟให้เจริญอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย แก้ปวดข้อปวดเมื่อยฟกช้ำจากการหกล้ม ขาบวมน้ำ แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว ประจำเดือนมาผิดปกติ แกเป็นเลือด แก้โรคหืด

ใบโถจีลาเผียะ (ดีงูหว้า)  เหง้าใต้ดิน มีรสชาติสุขุม สามารถนำมาต้มหรือดองสุราแก้ความดันเลือดต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ เป็นยาบำรุงสตรีมีครรภ์ ต้มอาบรักษาผื่นคัน  หรือผสมกับสมุนไพรอื่น ฝนร่วมกันกินแก้เบื่อเมา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย มะเร็ง ปวดท้อง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคในกระเพาะอาหาร บำรุงร่างกาย

Share
Tagged